วันพฤหัสบดีที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2557

คำอธิบายรายวิชา IS2


คำอธิบายรายวิชา
รายวิชาการศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้(Research and Knowledge Formation)
รหัสวิชา
I20201
กลุ่มสาระการเรียนรู้. การงานอาชีพและเทคโนโลยี                                        ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
เวลา 2 ชั่วโมง/สัปดาห์ 40 ชั่วโมง/ภาคเรียน  จำนวน 1 หน่วยกิต                      ภาคเรียนที่ 1

          ศึกษา วิเคราะห์ ฝึกทักษะตั้งประเด็นปัญหา/ตั้งคำถามในเรื่องที่สนใจโดยเริ่มจากตนเอง เชื่อมโยงกับชุมชน ท้องถิ่นและประเทศ ตั้งสมมติฐานและให้เหตุผลโดยใช้ความรู้จากศาสตร์สาขาต่างๆ ค้นคว้าแสวงหาความรู้เกี่ยวกับสมมติฐานที่ตั้งใจไว้จากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย ออกแบบวางแผนรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการที่เหมาะสม ทำงานบรรลุผลตามเป้าหมายในกรอบการดำเนินงานที่กำหนด โดยการกำกับดูแล ช่วยเหลือของครูอย่างต่อเนื่อง สังเคราะห์สรุปองค์ประกอบความรู้และร่วมกันเสนอแนวคิด วิธีการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ ด้วยกระบวนการคิด กระบวนการสืบค้นข้อมูล กระบวนการแก้ปัญหา กระบวนการปฏิบัติและกระบวนการกลุ่มในการวิพากษ์
เพื่อให้เกิดทักษะในการค้นคว้าแสวงหาความรู้ เปรียบเทียบเชื่อมโยงองค์ความรู้ สังเคราะห์ อภิปราย เพื่อให้ประโยชน์และคุณค่าของการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง

ผลการเรียนรู้
1.       ตั้งประเด็นปัญหา โดยเลือกประเด็นที่สนใจ เริ่มจากตนเอง ชุมชนท้องถิ่น ประเทศ
2.       ตั้งสมมติฐานประเด็นปัญหาที่ตนเองสนใจ
3.       ออกแบบ วางแผน ใช้กระบวนการรวบรวมข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ
4.       ศึกษาค้นคว้า แสวงหาความรู้เกี่ยวกับประเด็นที่เลือก จากแหล่งเรียนรุ้ที่หลากหลาย
5.       ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของแหล่งที่มาของข้อมูลได้
6.       วิเคราะห์ข้อค้นพบด้วยสถิติที่เหมาะสม
7.       สังเคราะห์สรุปองค์ความรู้ด้วยกระบวนการกลุ่ม
8.       เสนอแนวคิด การแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบด้วยองค์ความรู้จากการค้นพบ
9.       เห็นประโยชน์และคุณค่าของการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง

วันจันทร์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ความหมายของความพึงพอใจ



ความหมายของความพึงพอใจ

นักวิชาการได้ให้ความหมายของความพึงพอใจต่าง ๆ พอสรุปได้ดังนี้
                ทวีพงษ์   หินคำ (2541 : 8 ) ได้ให้ความหมายของความพึงพอใจว่าเป็นความชอบของบุคคลที่มีต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใด ซึงสามารถลดความดึงเครียดและตอบสนองความต้องการของบุคคลได้ทำให้เกิดความพึงพอใจต่อสิ่งนั้น
                ธนียา   ปัญญาแก้ว ( 2541 : 12 ) ได้ให้ความหมายว่า สิ่งที่ทำให้เกิดความพึงพอใจที่เกี่ยวกับลักษณะของงาน ปัจจัยเหล่านี้นำไปสู่ความพอใจในงานที่ทำ ได้แก่ ความสำเร็จ การยกย่อง ลักษณะงาน ความรับผืดชอบ และความก้าวหน้า เมื่อปัจจัยเหล่านี้อยู่ต่ำกว่า จะทำให้เกิดความไม่พอใจงานที่ทำ ถ้าหากงานให้ความก้าวหน้า ความท้าท้าย ความรับผิดชอบ ความสำเร็จและการยกย่องแก่ผู้ปฏิบัติงานแล้ว พวกเขาจะพอใจและมีแรงจูงใจในการทำงานเป็นอย่างมาก
                วิทย์      เที่ยงบูรณธรรม (2541 : 754) ให้ความหมายของความพึงพอใจว่า หมายถึง ความพอใจ การทำให้พอใจ ความสาแก่ใจ ความหนำใจ ความจุใจ ความแน่ใจ การชดเชย การไถ่บาปการแก้แค้นสิ่งที่ชดเชย
                วิรุฬ   พรรณเทวี (2542 : 11 ) ให้ความหมายไว้ว่า ความพึงพอใจเป็นความรู้สึกภายในจิตใจของมนุษย์ที่ไม่เหมือนกัน ซึ่งเป็นอยู่กับแต่ละบุคคลว่าจะคาดหมายกับสิ่งหนึ่ง สิ่งใดอย่างไร ถ้าคาดหวังหรือมีความตั้งใจมากและได้รับการตอบสนองด้วยดี จะมีความพึงพอใจมากแต่ในทางตรงกันข้ามอาจผิดหวังหรือไม่พึงพอใจเป็นอย่างยิ่ง เมื่อไม่ได้รับการตอบสนองตามที่คาดหวังไว้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสิ่งที่ตนตั้งใจไว้ว่าจะมีมากหรือน้อย
                กาญจนา   อรุณสุขรุจี ( 2546 : 5 ) กล่าวว่า ความพึงพอใจของมนุษย์ เป็นการแสดงออกทางพฤติกรรมที่เป็นนามธรรม ไม่สามารถมองเห็นเป็นรูปร่างได้ การที่เราจะทราบว่า บุคคลมีความพึงพอใจหรือไม่ สามารถสังเกตโดยการแสดงออกที่ค่อนข้างสลับซับซ้อน และต้องมีสิ่งที่ตรงต่อความต้องการของบุคคล จึงจะทำให้บุคคลเกิดความพึงพอใจ ดังนั้นการสร้างสิ่งเร้าจึงเป็นแรงจูงใจของบุคคลนั้นให้เกิดความพึงพอใจในงานนั้น
                Carnpbell ( 1976 : 117 – 124 อ้างถึงใน วาณี   ทองเสวต, 2548 ) กล่าวว่า ความพึงพอใจเป็นความรู้สึกภายในที่แต่ละคนเปรียบเทียบระหว่างความคิดเห็นต่อสภาพการณ์ที่อยากให้เป็นหรือคาดหวัง หรือรู้สึกว่าสมควรจะได้รับ ผลที่ได้จะเป็นความพึงพอใจหรือไม่พึงพอใจเป็นการตัดสินของแต่ละบุคคล
                Domabedian ( 1980 , อ้างถึงใน วาณี  ทองเสวต,2548 ) กล่าวว่า ความพึงพอใจของผู้รับบริการ หมายถึง ผู้บริการประสบความสำเร็จในการทำให้สมดุลระหว่างสิ่งที่ผู้รับบริการให้ค่ากับความคาดหวังของผู้รับบริการ และประสบการณ์นั้นเป็นไปตามความคาดหวัง
                จากความหมายที่กล่าวมาทั้งหมด สรุปความหมายของความพึงพอใจได้ว่า เป็นความรู้สึกของบุคคลในทางบวก ความชอบ ความสบายใจ ความสุขใจต่อสภาพแวดล้อมในด้านต่าง ๆ หรือเป็นความรู้สึกที่พอใจต่อสิ่งที่ทำให้เกิดความชอบ ความสบายใจ และเป็นความรู้สึกที่บรรลุถึงความต้องการ


วันเสาร์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

สมมุติฐาน


สมมุติฐาน  (Hypothesis) 
ความหมายของสมมติฐาน 
                สมมติฐาน คือ คำตอบที่ผู้วิจัยคาดคะเนไว้ล่วงหน้าอย่างมีเหตุผล หรือสมมติฐานคือข้อความที่อยู่ในรูปของการคาดคะเนความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร 2 ตัว หรือมากกว่า 2 ตัวเพื่อใช้ตอบปัญหาที่ต้องการศึกษา สมาติฐานที่ดีมีหลักเกณฑ์ที่สำคัญ 2 ประการคือ
1. เป็นข้อความที่กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร
2.เป็นสมมติฐานที่สามารถทดสอบได้โดยวิธีการทางสถิติ 
ชนิดของสมมุติฐาน
สมมติฐานมี 2 ชนิดใหญ่ ๆ คือ สมมติฐานทางวิจัยและสมมติฐานการสถิติ
1. สมมติฐานทางวิจัย (research hypothesis)  เป็นการเขียนคาดการณ์ที่เกิดขึ้น หรือแสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร 2 ตัวขึ้นไป เพื่อสื่อให้ผู้อ่านทราบว่า ผู้วิจัยสงสัยและคาดการณ์ประเด็นปัญหาวิจัยแต่ละประเด็นไว้ว่าอย่างไร และแสดงแนวทางการทดสอบปัญหาในแต่ละประเด็นไว้อย่างไร  แบ่งออกเป็น 2  อย่างคือ
      1.1 สมมติฐานการวิจัยแบบมีทิศทาง  Directional hypothesis ) เป็นสมมติฐานที่เขียนระบุอย่างชัดเจนถึงทิศทางของความแตกต่างถึงทิศทางของความแตกต่างระหว่างกลุ่ม โดยมีคำว่า
 “ ดีกว่า ” หรือ  “ สูงกว่า ” หรือ “ ต่ำกว่า ” หรือ “ น้อยกว่า” ในสมมติฐานนั้นๆดังตัวอย่างที่ 1 ข้างต้น หรือระบุทิศทางของความสัมพันธ์ โดยมีคำว่า “ ทางบวก ” หรือ “ทางลบ ” ในสมมติฐานนั้นๆ  เช่น
                -  ครูประจำการมีความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์มากกว่าครูฝึกสอน
                -  นักเรียนในกรุงเทพฯจะมีทัศนะคติทางวิทยาศาสตร์ดีกว่านักเรียนในชนบท
                -  ครูอาจารย์เพศชายมีความวิตกกังวลในการทำงานน้อยกว่าครูอาจารย์เพศหญิง
                -  ผู้บริหารเพศชายมีประสิทธิภาพในการบริหารงานมากกว่าผู้บริหารเพศหญิง
      1.2 สมมติฐานการวิจัยแบบไม่มีทิศทาง
2. สมมติฐานทางสถิติ  Statistical hypothesisเป็นการเขียนเพื่อการทดสอบ รูปประโยคจะเป็นข้อความที่กล่าวถึงค่าพารามิเตอร์ (parameters) คือค่าต่าง ๆ ของประชากร เช่น ค่าเฉลี่ย ค่าความแปรปรวน ในรูปพจน์หรือประโยคสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ แบ่งออกเป็น 2 อย่าง คือ
      2.1 สมมติฐานศูนย์ (Null hypothesis) จะเขียนในรูปที่ไม่แสดงอิทธิพลของตัวแปรอิสระนั่นคือไม่มีความสัมพันธ์กันระหว่าง……….. หรือไม่มีความแตกต่างระหว่าง……...…… การเขียน ๆ เป็นรูปสัญลักษณ์ทางสถิติ   เช่น   H0 : µ1 = µ2   หรือ  H0 : µ1  µ2  หรือ                         H0 : µ1  µ2  เป็นต้น
    2.2 สมมติฐานเลือก (Alternative hypothesis) ได้แก่  สมมติฐานทางสถิติ ที่เขียนในรูปที่แสดงความสัมพันธ์หรืออิทธิพลของตัวแปรอิสระเขียนแทนด้วย H1 เช่น  H1 : µ1 > µ2  หรือ  H1 : µ1 < µ2  หรือ  H1 = µ1  µ2  เป็นต้น 
2.2.1 สมมติฐานแบบไม่มีทิศทาง (non - directional hypothesis) เป็นสมมติฐานที่ระบุค่าพารามิเตอร์ค่าใดค่าหนึ่งไม่เท่ากับค่าใดค่าหนึ่ง
H1 = µ1 ¹ µ2
การทดสอบสถิติของสมมติฐานนี้ เรียกว่าการทดสอบสมมติฐานแบบ 2 ทาง (Two - tailed test)
2.2.2 สมมติฐานแบบมีทิศทาง (Directional hypothesis) ได้แก่ สมมติฐานที่ระบุค่าพารามิเตอร์ค่าใดค่าหนึ่งมากกว่าหรือน้อยกว่า ค่าใดค่าหนึ่ง หรือสัมพันธ์ทางบวก สัมพันธ์ทางลบ เช่น
H1 : µ1 > µ2 หรือ µ1 < µ2
การตั้งสมมติฐานการวิจัย
      สมมติฐานเป็นความคาดหวังในผลที่จะเกิดขึ้นจากการวิจัย เป็นการนำคำอธิบายของทฤษฎีมาทำนาย การเขียนเป็นการนำปัญหาการวิจัยมาเปลี่ยนให้อยู่ในรูปของคำตอบที่คาดเดาไว้อย่างมีเหตุผล สมมติฐานเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของกระบวนการค้นหาความรู้ที่เป็นวิทยาศาสตร์ การตั้งสมมติฐานใช้วิธีการของการอุปมานซึ่งเน้นการสังเกต และการอนุมานซึ่งเน้นการใช้เหตุผลในการวิเคราะห์สิ่งที่สังเกตได้ การทำวิจัยเรื่องหนึ่ง ๆ จะมีสมมติฐานหรือไม่ขึ้นกับระเบียบวิธีวิจัย ถ้ามีสามารถตั้งได้อย่างน้อยหนึ่ง สมมติฐานหรืออาจมากกว่าหนึ่งได้

จุดมุ่งหมายในการตั้งสมมติฐาน
1. เพื่อเป็นการเชื่อมโยงทฤษฎีและข้อเท็จจริงที่สังเกตพบ เช่น จากการศึกษาทฤษฎีแรงจูงใจ อาจนำมาสังเกตข้อเท็จจริงที่เกิดโดยตั้งสมมติฐานว่า "บุคลากรที่มีระดับแรงจูงใจสูงจะมีประสิทธิผลการทำงานสูงกว่าบุคลากรที่มีแรงจูงใจระดับต่ำ" จะเห็นได้ว่าสมมติฐานนั้นสามารถสังเกตได้จากความเป็นจริงโดยผู้วิจัยเขียนให้สอดคล้องกับคำอธิบายของทฤษฎี
2. เป็นการขยายขอบเขตของความรู้ เนื่องจากเขียนสมมติฐานจากการอนุมานทฤษฎี เพื่อสรุปเป็นข้อค้นพบ เป็นการขยายขอบเขตความรู้
3. เป็นเครื่องช่วยชี้ทิศทางของการวิจัยให้ชัดเจนขึ้น ประโยคสมมติฐานจะชี้แนวทางการออกแบบการวิจัย แนวทางการรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลตลอดจนการแปลความข้อมูลได้ชัดเจน เช่น "ปัญหาการวิจัยเรื่อง ผลของการสอนอย่างมีแบบแผนในเรื่องการให้นมมารดาในหญิงครรภ์แรกที่มีหัวนมผิดปกติ" จากปัญหาการวิจัยจะทราบว่าในการวิจัยต้องมีการสอนมารดาเรื่องการให้นมมารดาแก่ทารก และวัดผลการสอน แต่เมื่อเขียนสมมติฐานเช่น มารดาหัวนมผิดปกติที่ได้รับการสอนและไม่ได้รับการสอนมีประสิทธิผลในการให้นมมารดาแตกต่างกัน จะเห็นได้ว่าสมมติฐานชี้บอกเราว่าการวิจัยต้องเป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง มีมารดาหัวนมผิดปกติ 2 กลุ่ม คือ กลุ่มได้รับการสอนและไม่ได้รับการสอน เมื่อเสร็จสิ้นการทดลองวัดประสิทธิผลการให้นมมารดา จากทั้งสองกลุ่ม นำมาเปรียบเทียบกันโดยใช้สถิติวิเคราะห์ความแตกต่าง ดังนั้น สมมติฐานมีประโยชน์ แก่ผู้วิจัยในการออกแบบการวิจัยด้วย
ลักษณะของสมมติฐานที่ดี
1. ต้องระบุความสัมพันธ์ของตัวแปรที่ศึกษาคาดหมายล่วงหน้าว่าจะเกิดขึ้น โดยอยู่ในรูป "แตกต่างกัน" "มากกว่า" "น้อยกว่า" "สัมพันธ์กัน" "ขึ้นอยู่กับ" เป็นต้น
2. ความสัมพันธ์ที่กล่าวถึงสามารถทดสอบได้ นั้นคือตัวแปรที่ศึกษาต้องวัดไว้ สังเกตได้ และความสัมพันธ์นั้นวิเคราะห์ได้ด้วยวิธีทางสถิติ
3. ความสัมพันธ์ที่กล่าวถึงมีเหตุผลเหมาะสมสอดคล้องกับผลการวิจัยและทฤษฎีที่นำมาเป็นกรอบความคิดในการวิจัย
4. ประโยคที่เป็นสมมติฐานต้องแสดงความเป็นเหตุเป็นผลที่เหมาะสม น่าเชื่อถือได้
ประเภทขอสมมติฐานในการวิจัย
สมมติฐานในการวิจัยมี 2 ประเภท คือ
1. สมมติฐานทางวิจัย (research hypothesis) เป็นการเขียนคาดการณ์ที่เกิดขึ้น หรือแสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร 2 ตัวขึ้นไป เพื่อสื่อให้ผู้อ่านทราบว่า ผู้วิจัยสงสัยและคาดการณ์ประเด็นปัญหาวิจัยแต่ละประเด็นไว้ว่าอย่างไร และแสดงแนวทางการทดสอบปัญหาในแต่ละประเด็นไว้อย่างไร
2. สมมติฐานทางสถิติเป็นการเขียนเพื่อการทดสอบ รูปประโยคจะเป็นข้อความที่กล่าวถึงค่าพารามิเตอร์ (parameters) คือค่าต่าง ๆ ของประชากร เช่น ค่าเฉลี่ย ค่าความแปรปรวน ในรูปพจน์หรือประโยคสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ แบ่งออกเป็น 2 อย่าง คือ
2.1 สมมติฐานศูนย์ (Null hypothesis) จะเขียนในรูปที่ไม่แสดงอิทธิพลของตัวแปรอิสระนั่นคือไม่มีความสัมพันธ์กันระหว่าง………………………… หรือไม่มีความแตกต่างระหว่าง……………………… การเขียน ๆ เป็นรูปสัญลักษณ์ทางสถิติ
H0 : µ1 = µ2
เมื่อ µ1 ค่าเฉลี่ยอัตราเต้นของหัวใจทารกจากมารดากลุ่มที่ 1
µ2 ค่าเฉลี่ยอัตราเต้นของหัวใจทารกจากมารดากลุ่มที่ 2
2.2 สมมติฐานเลือก ได้แก่สมมติฐานทางสถิติ ที่เขียนในรูปที่แสดงความสัมพันธ์หรืออิทธิพลของตัวแปรอิสระเขียนแทนด้วย H1 และมีอยู่ 2 ชนิดด้วยกันคือ
2.2.1 สมมติฐานแบบไม่มีทิศทาง (non - directional hypothesis) เป็นสมมติฐานที่ระบุค่าพารามิเตอร์ค่าใดค่าหนึ่งไม่เท่ากับค่าใดค่าหนึ่ง เช่น
H1 = µ1 ¹ µ2
การทดสอบสถิติของสมมติฐานนี้ เรียกว่าการทดสอบสมมติฐานแบบ 2 ทาง (Two - tailed test)
2.2.2 สมมติฐานแบบมีทิศทาง (Directional hypothesis) ได้แก่ สมมติฐานที่ระบุค่าพารามิเตอร์ค่าใดค่าหนึ่งมากกว่าหรือน้อยกว่า ค่าใดค่าหนึ่ง หรือสัมพันธ์ทางบวก สัมพันธ์ทางลบ เช่น
H1 : µ1 > µ2 หรือ µ1 < µ2
การทดสอบทางสถิติของสมมติฐานนี้เรียกว่าการ ทดสอบสมมติฐานแบบทางเดียว (One - tailed test)
ตัวอย่างสมมติฐานทางวิจัยและสมมติฐานทางสถิติ
สมมติฐานทางวิจัย มารดาครรภ์แรกที่ได้รับการจัดท่าคลอดแตกต่างกันจะมีระยะ
เวลาคลอดระยะที่ 2 แตกต่างกัน
สมมติฐานทางสถิติ
H 0 : µ 1 = µ 2
เมื่อ µ1 = ค่าเฉลี่ยระยะเวลาการคลอดระยะที่ 2 ของมารดากลุ่ม 1
µ2 = ค่าเฉลี่ยระยะเวลาการคลอดระยะที่ 2 ของมารดากลุ่ม 2
ตัวอย่างสมมติฐานไม่ระบุทิศทาง : ระยะเวลาในการคลอดระยะที่ 2 ของมารดาคลอดในท่านอนหงาย แตกต่างกับการคลอดท่านอน
ตัวอย่างสมมติฐานไม่ระบุทิศทาง : ระยะเวลาในการคลอดระยะที่ 2 ของมารดาที่คลอดในท่านอนหงาย มากกว่า มารดาที่คลอดในท่านอนตะแคงซ้าย
หลักการเขียนสมมติฐานทางการวิจัย
ในการเขียนสมมติฐานทางการวิจัย ผู้วิจัยควรปฏิบัติดังนี้
1. เขียนเป็นประโยคบอกเล่า ที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต้นและตัวแปรตาม ระบุทิศทางหรือไม่ขึ้นกับเหตุผลทฤษฎีที่นำมาใช้เป็นกรอบในการทำวิจัย
2. เป็นประโยคสั้น ๆ ภาษาเข้าใจง่าย ระบุความหมายชัดเจนในแง่การวัดมากที่สุด
3. เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องในกรอบการวิจัยเรื่องนั้น ๆ
4. อาจเขียนได้หลายข้อ ในปัญหาวิจัยเรื่องหนึ่ง ๆ
5. สมมติฐานทุกข้อที่ตั้งขึ้นต้องทดสอบได้
6. สมมติฐานควรเขียนเรียงลำดับสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการวิจัยสมมติฐานต้องตั้งขึ้นก่อนเก็บข้อมูลและสมมติฐานตั้งขึ้นไม่จำเป็นต้องถูกต้องเสมอไป อาจผิดได้ขึ้นกับข้อเท็จจริงของข้อมูล การสมมติฐานที่ตั้งขึ้นสามารถบอกระบุทิศทางได้ชัดเจนจะสามารถเลือกสถิติแบบทดสอบทางเดียว (one - tailed test) ซึ่งจะมีอำนาจการทดสอบ (power of test) สูงกว่าการทดสอบแบบสองทาง
เอกสารอ้างอิง
รัตนะ บัวสนธ์. (2551).  ปรัชญาวิจัย (Philosophy of Research). กรุงเทพฯ. สำนักพิมพ์แห่ง
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อรุณี  อ่อนสวัสดิ์. (2553).  เอกสารประกอบการบรรยาย วิชา ระเบียบวิธีวิจัยขั้นสูง (390611).
พิษณุโลก. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

วันพุธที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2557

กลุ่ม 2. M.2.11





Behavior phone use during class time the students 2.
WitayanukulnareeSchool



                                          Ditsayabodinkhunpanuk  M.2/11 No.2
                                           PiphatPoontongpan           M.2/11  No.6
                                           PhanuphantTumparn        M.2/11  No.7


        This study is part of this course. Communication and presentation (IS2) Course Code I22202.
WitayanukulnareeSchool

Semester 2 Academic Year 2556
The field work for the study of this secondary field 40


--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

Study Title Behavior phone use during class time the students 2. Witayanukulnaree School

Study                                 Ditsayabodin  khunpanuk  M.2/11 No.2
                                           Piphat  Poontongpan         M.2/11  No.6
                                           Phanuphant  Tumparn      M.2/11  No.7
Advisory                            Teacher  Bussaba kwangkaew
                                           Education Students of Year 2.
WitayanukulnareeSchool
Communication and presentation courses (Independent Study: IS2).
academic 2556 year
Abstract
This study aims to study the handsome players in public school science classrooms Nukhro seminary . The samples used in this study . Is 2nd year students Academic Support School seminary school . 30 people Semester 2 Academic Year 2556 , by way of phone usage behavior in the classroom. The study results showed that the water sources in schools Suranaree School Wittayanusorn not result in a high level.

                                                                                   


วันอังคารที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2557

IS M.2.11 Group 1.


Thesis  title:                              Use of Internet affectsthe students behavior of Wittayanukulnaree School.
Researcher:                              1.Miss KrongsaiKaewbang     No.8
                                                                2.MissChanisaraSukdamanee  No.10
                                                                3.MissPrapapornPongkaew     No.29
Degree :                                                Mattayomsuksa 2 Student at Wittayanukulnaree school
Thesis  advisrer:                                Mrs.Suporn Naulchey
Subject :                                              Independent Study (IS 2)
Academic year :                                2013

Abstract

This study aims to explore the behavior of students using the Internet .
             The samples used in this study were secondary 2 students of Wittayanukulnaree
School. The statistics used in data analysis were percentage and average method.
The results showed that the students 2/ 11 schools Wittayanukulnaree School
satisfaction in using the Internet in quality.

วันอังคารที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ขอความร่วมมือตอบแบบสอบถามให้ครูด้วย ส่งทางเมล์ naulchey@gmail.com /เพสบุ๊คในกลุ่ม IS2 M.2

แบบประเมินความพึงพอใจ
เรื่อง การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การสื่อสารและการนำเสนอ ( IS2 ) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
**************************************
คำชี้แจง ให้นักเรียนเขียนเครื่องหมาย   / ลงในช่องว่างหรือเติมข้อความตามความคิดเห็นหรือตรงตามความเป็นจริง
ตอนที่ 1  ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ตอบแบบสอบถาม
1.      เพศ    (       )     หญิง     (       )      ชาย
2.     อายุ...............ปี        ชั้น..............ห้อง.................
ตอนที่ 2 ความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิชา IS2
รายการ
มากที่สุด
(5)
มาก
(4)
ปานกลาง
(3)
น้อย
(2)
น้อยที่สุด
(1)
1.ครูมีบุคลิกและการต่างกายเหมาะสมกับความครู
2.การเตรียมการสอนของครูผู้สอนมีความพร้อม
3.ครูสามารถถ่ายทอดความรู้ให้นักเรียนเข้าใจ
4.ครูจัดการเรียนรู้ที่เน้นความรู้คู่คุณธรรม
5.กลวิธีสอนของครูสอนให้นักเรียนแสวงหาความรู้เพื่อแก้ปัญหาและมีการใช้ ICT เพื่อการเรียนรู้ทั้งในและนอกห้องเรียน
6.ครูสอนโดยฝึกให้นักเรียนคิด ฝึกตั้งคำถาม ฝึกให้เหตุผล ฯ
7.ครูสอนให้นักเรียนเห็นคุณค่าตนเองและผู้อื่น
8.ครูเน้นทักษะการสื่อสารและการนำเสนอหน้าชั้นเรียน
9.ครูมีความเป็นกันเองกับนักเรียน
10.เนื้อหาของวิชา IS2 มีความน่าสนใจ
11.สภาพบรรยากาศห้องเรียนในการเรียนการสอน
12. นักเรียนมีความสุขกับการเรียน
13.นักเรียนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม
14.การเรียนการสอนในลักษณะนี้ทำให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติมากขึ้น
15.รูปแบบการเรียนการสอนแตกต่างจากครูคนอื่น
16.นักเรียนสนุกกับการเรียน
17.นักเรียนมีความสุขกับการเรียน

ความคิดเห็น หรือข้อเสนอแนะเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเรียนการสอนวิชาการสื่อสารและการนำเสนอ (IS2)
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
                                                                                                                                                                              ที่ปรึกษาวิชา IS2