ประชากร/กลุ่มตัวอย้าง


ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
         ประชากร (Population )
                                               
                       ประชากร หมายถึง ทุกสิ่งที่จะศึกษา
         ประชากรที่ใช้ในการวิจัยอาจเป็นได้ทั้งสิ่งมีชีวิตหรือสิ่งไม่มีชีวิต  เช่น
                    -   การศึกษาทัศนคติของผู้ใช้ไฟฟ้าในเขตกรุงเทพมหานคร
ประชากรในการวิจัยเรื่องนี้ได้แก่  ประชาชนผู้ใช้รถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพมหานคร
ประชากร เป็นสิ่งมีชีวิต  คือ  ประชาชน

                     -    การศึกษาเปรียบเทียบคุณภาพอากาศในเขตเมืองและชนบท
                     -    ประชากรในการวิจัยเรื่องนี้ได้แก่  อากาศในเขตเมืองและชนบท
      ประชากร เป็นสิ่งไม่มีชีวิต   ไม่สามารถแสดงความคิดเห็นได้  จึงต้องเป็นการวิจัยเชิงทดลองเพื่อศึกษาคุณภาพอากาศ  ไม่ใช่การวิจัยเพื่อสำรวจความคิดเห็น
ประเภทของประชากร    จำแนกเป็น  2  ประเภทใหญ่ๆ คือ
1.             ประชากรที่มีจำนวนจำกัด  เป็นประชากรที่สามารถนับจำนวนได้  เช่น จำนวนนักศึกษา
จำนวนนักเรียน
2.             ประชากรที่มีจำนวนไม่จำกัด เช่นจำนวนเม็ดทราย  ดวงดาวบนท้องฟ้าฯลฯ

           กลุ่มตัวอย่าง( Sample)
               
               กลุ่มตัวอย่าง  หมายถึง หน่วยที่ผู้วิจัยเลือกมาจากประชากรเป็นตัวแทนของประชากรในการวิจัย

ตัวอย่าง เช่น
1.   ประชากร ได้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนธรรมศาสตร์คลองหลวงวิทยาคม
2.   กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2โรงเรียนวิทยานุกูลนารี   ภาคเรียนที่ 2 
ปีการศึกษา 2555  จำนวนนักเรียน 75 คน 

ประเภทของการสุ่มตัวอย่าง
       การสุ่มตัวอย่างมีหลายวิธี  แต่ครูแนะนำการสุ่มตัวอย่างสำหรับนักเรียนม. 2 คือ
1.             การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย  นิยมใช้กัน 2 วิธีคือ
1.1 การจับฉลาก
1.2 การใช้ตารางเลขสุ่ม
1.1 การจับฉลาก  ใช้กับประชากรขนาดเล็ก  มีขั้นตอนคือ
       1. เขียนบัญชีรายชื่อ โดยรวบรวมทุกๆหน่วยของประชากรและให้หมายเลขกำกับ
            เช่นรายชื่อเจ้าหน้าที่ทุกคนในแผนก   รายชื่อนักเรียนทุกคนในชั้นเรียน
                                                        2.  ทำฉลากหมายเลขเท่ากับประชากรเป้าหมายที่อยู่ในบัญชีรายชื่อ
                                                        3. นำฉลากมาเคล้าปนกันให้ทั่ว
                                                       4. จับฉลากขึ้นมาครั้งละ 1 ใบให้ครบจำนวนตัวอย่างที่ต้องการ
1.2 การใช้ตารางเลขสุ่ม    นิยมใช้กับประชากรขนาดใหญ่ที่มีบัญชีรายชื่อทุกหน่วยย่อยของ   ประชากรไว้แล้ว
                โดยปกติตารางเลขสุ่มนี้สร้างขึ้นจากการสุ่มโดยเครื่องคอมพิวเตอร์  มีขั้นตอนดังนี้
1.  กำหนดขนาดตัวอย่างที่ต้องการสุ่ม
2.  กำหนดจำนวนหลักตัวเลขที่ต้องการสุ่ม
3.  กำหนดทิศทางการอ่านให้แน่ใจว่าจะอ่านจากขวาไปซ้าย  หรือบนมาล่าง
4.  หาเลขเริ่มต้นโดยการสุ่มเช่นสุ่มตัวเลขโดยกำหนดในใจว่าจะเลือกตัวเลขใด
5.  เรียกเลขสุ่มจนครบตามจำนวนตัวอย่างจึงหยุด
2.   การสุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบ    เป็นการสุ่มตัวอย่างจากหน่วยย่อยของประชากรที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน    
       มีขั้นตอนการสุ่มดังนี้
1.    สุ่มหน่วยเริ่มต้น
2.    คำนวณระยะห่างของหน่วยต่อไป
       ระยะห่างระหว่างหมายเลข(I) = N/n จำนวนประชากรทั้งหมด  (800 คน )  = 10
                                                        จำนวนกลุ่มตัวอย่าง          80  คน
3.    นับระยะห่างเท่าๆกัน เช่น  10 , 20 , 30 ...
4.    กำหนดหมายเลขตัวอย่างดังนี้  
เลขเริ่มต้น10 ตัวอย่างเช่น มีประชากร 800 คน ต้องการตัวอย่าง 80 คน
5.    สุ่มเลขเริ่มต้นหรือจับสลากก็ได้ใน 800คน  สมมุติได้เลข 5 ดังนั้นจึงสุ่มทุกๆ 10 คน
สุ่มจนได้ครบจำนวนกลุ่มตัวอย่าง



                                                      บรรณานุกรม

          นคร  เสรีรักษ์และภรณี  ดีราษฎร์วิเศษ.  วิจัยไม่ใช่เรื่องยาก. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ , 2555.
 แบบฝึกหัก    ให้นักเรียนเขียนจำนวนประชากรที่ใช้ศึกษา และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา


1 ความคิดเห็น: