หลักการเขียนอ้างอิงบทที่ 2

การเขียนรายการอ้างอิงและบรรณานุกรมบทความวิชาการและบทความวิจัย
รายการอ้างอิง มีส่วนประกอบที่สำคัญ 3 ส่วน คือ
1. ผู้แต่ง/ผู้ผลิต/ผู้ให้ข้อมูล
2. ปีที่พิมพ์/ปีที่ผลิต/ปีที่เผยแพร่ อย่างเช่น
3. เลขหน้าที่ใช้ในการอ้างอิง
(ชื่อผู้แต่ง,􀀹 ปีพิมพ์:􀀹 เลขหน้า)
ตัวอย่างเช่น
การให้บริการสื่อสารที่เป็นสากลมีความจำเป็นต้องอยู่ภายใต้ความร่วมมือของนานาชาติที่เป็น
สมาชิก เพื่อหาข้อตกลงด้านต่าง ๆ ตลอดจนการออกแบบส่วนต่าง ๆ เพื่อให้สามารถให้บริการสื่อสารแก่
มวลสมาชิกได้ องค์กรหลักสององค์กรที่ให้บริการสื่อสารดาวเทียมสากล คือ INTELSAT และ
INTERSPUTNIK ที่มีสมาชิก 118 และ 14 ประเทศตามลำดับ (รัชนัย อินทุใส,/2538:/4-5)
รัชนัย อินทุใส (2538: 􀀳34-5) อธิบายว่าการให้บริการสื่อสารที่เป็นสากลมีความจำเป็นต้องอยู่
ภายใต้ความร่วมมือของนานาชาติที่เป็นสมาชิก เพื่อหาข้อตกลงด้านต่าง ๆ ตลอดจนการออกแบบส่วนต่าง ๆ
เพื่อให้สามารถให้บริการสื่อสารแก่มวลสมาชิกได้ องค์กรหลักสององค์กรที่ให้บริการสื่อสารดาวเทียม
สากล คือ INTELSAT และ INTERSPUTNIK ที่มีสมาชิก 118 และ 14 ประเทศตามลำดับ
รัชนัย อินทุใส3(2538: 􀀳23) สรุปแนวโน้มการพัฒนาเทคโนโลยีการสื่อสารผ่านดาวเทียมไว้ ดังนี้
1.
……………………………………………………………………
2. ……………………………………………………………………..
3. ………………………………………………………………………
4. ………………………………………………………………………
หมายเหตุ : เครื่องหมาย /คือการเว้นระยะไม่ต้องใส่
1. ส่วนผู้แต่ง/ผู้ผลิต/ผู้ให้ข้อมูล
1.1 ผู้แต่งที่เป็นคนไทย ให้เขียนเฉพาะชื่อและตามด้วยชื่อสกุล หาก เป็นชาวต่างประเทศ
ให้เขียนเฉพาะนามสกุล
ผู้แต่ง 1 คน เช่น ประภาวดี สืบสนธิ์
Pantry
ผู้แต่ง 2 คน เช่น กุลวนิดา มาสุปรีดิ์􀀳และวัฒนา บางโพธิ์
Pantry and Griffiths
ผู้แต่ง 3 คน เช่น สาคิตณ์ จันทโนทก, 􀀳นภาพร ณ เชียงใหม่􀀳และกวี วงศ์พรม
Carph, /Dundee, /and/Smith
ผู้แต่งมากกว่า 3 คน เช่น ประกอบ คุปรัตน์􀀳และคณะ
Carph, 􀀳et al.
1.2
1.2 ผู้แต่งที่เป็นหน่วยงาน สถาบัน สมาคม สโมสร องค์การ หรือบริษัท ให้ลงชื่อ
หน่วยงานนั้นๆเป็นผู้แต่ง โดยใส่ชื่อหน่วยงานใหญ่ก่อนตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค(,)
แล้วตามด้วนหน่วยงานย่อย ถ้าเป็นสิ่งพิมพ์ของหน่วยราชการให้ใส่ชื่อหน่วยงานที่มีฐานะ
อย่างน้อยที่สุดระดับกรมหรือเทียบเท่าเป็นหลัก ดังตัวอย่าง
กรมสรรพากร, 􀀳กองนโยบายและแผน, 􀀳ฝ่ายเอกสารเผยแพร่และแนวปฏิบัติ
ธนาคารแห่งประเทศไทย
Library Association
1.3 หากไม่ปรากฏผู้แต่ง ให้ลงชื่อเรื่อง (Title) แทนในส่วนชื่อผู้แต่ง ซึ่งอาจเป็นชื่อหนังสือ
ชื่อบทความในวารสาร ชื่อหัวข้อข่าวหรือชื่อบทความในหนังสือพิมพ์ เป็นต้น โดยใช้ตัวพิมพ์
หนา (bold)
ตัวอย่างชื่อหนังสือเช่น
เทคโนโลยีสารสนเทศกับการศึกษา
The Impact of New Technology on Libraries and Information Centers
ตัวอย่างชื่อบทความในวารสาร/หนังสือพิมพ์
“เปิดมิติธุรกิจขายข้อมูล ความต้องการแห่งยุคสมัย.”
“Information Brokers”

บรรณานุกรม

       บรรณานุกรม เป็นรายชื่อหนังสือ สิ่งพิมพ์และสื่อประเภทอื่นๆ ทั้งหมดทุกประเภท
แม้แต่ข้อมูลที่ได้จากอินเทอร์เน็ต ที่ใช้เป็นข้อมูลประกอบการเขียนบทความหรือเอกสาร
ก. ขั้นตอนการเขียนบรรณานุกรม
1. การเขียนบรรณานุกรมนั้นจะมีรูปแบบและหลักเกณฑ์การเขียนแตกต่างกันไป
ตามประเภทของทรัพยากรสารสนเทศ
2. การเขียนบรรณานุกรมต้องเขียนอย่างถูกต้องตามแบบแผนสากลแล้วจัดเรียง
ตามลำดับอักษรตัวแรกของแหล่งข้อมูล ทั้งนี้มักจะเป็นชื่อผู้แต่ง หรืออาจเป็นชื่อหนังสือ ชื่อ
บทความบ้างก็ได้หากไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง
อนึ่ง มีข้อควรพิจารณาเพิ่มเติม คือ ในกรณีที่มีสิ่งพิมพ์ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ
ให้แยกบรรณานุกรมออกเป็น 2 ภาษา คือ ภาษาไทย และภาษาต่างประเทศ แล้วจึงจัดเรียงตามลำดับ
อักษรตัวแรกของรายการแรกของบรรณานุกรมแต่ละรายการ
ในการเขียนหรือพิมพ์บรรณานุกรมนั้นจะต้องเริ่มต้นรายการแรก โดยเขียนหรือพิมพ์ชิด
ขอบกระดาษ และหากข้อความยังไม่จบตอน บรรทัดต่อไปให้ย่อหน้าเข้ามา 8 ระยะตัวอักษร โดย
พิมพ์ที่ตัวอักษรที่ 9
การเว้นระยะมีหลักเกณฑ์ดังนี้
หลังเครื่องหมาย มหัพภาค (. period) เว้น 2 ระยะ
หลังเครื่องหมาย อัญประกาศ (“___” quotation) เว้น 2 ระยะ
หลังเครื่องหมาย จุลภาค (, comma) เว้น 1 ระยะ
หลังเครื่องหมาย อัฒภาค (; semi-colon) เว้น 1 ระยะ
หลังเครื่องหมาย มหัพภาคคู่ (: colons) เว้น 1 ระยะ
ข. แบบแผนของบรรณานุกรม มีดังนี้
1. หนังสือ มีแบบแผนและหลักเกณฑ์การลงรายการตามลำดับ ดังนี้
แบบแผน
  ผู้แต่ง. 􀀹􀀹ปีพิมพ์. 􀀹􀀹ชื่อหนังสือ. 􀀹􀀹จำนวนเล่ม(ถ้ามี). 􀀹􀀹ครั้งที่พิมพ์(ถ้ามี). 􀀹􀀹ชื่อชุด
􀀹􀀹􀀹􀀹􀀹􀀹􀀹􀀹หนังสือและลำดับที่(ถ้ามี). 􀀹􀀹สถานที่พิมพ์: 􀀹สำนักพิมพ์หรือโรงพิมพ์.



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น