บทที่ 2-3


บทที่ 2
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

                            การศึกษาในครั้งนี้ ผู้ศึกษาได้ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยแบ่งเนื้อหาของเอกสารและงานวิจัยออกเป็นหัวข้อต่างๆดังนี้
ตัวอย่างหัวข้อเรื่อง
1.เอกสารที่เกี่ยวข้องกับ.................................(คอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย)
1.ความหมาย
2.ประเภท/รูปแบบ
3.ลักษณะ
4.ขั้นตอน

5.ประโยชน์

นำมาจาก   ••ตำรา••บทความทางวิชาการ••สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ

ตัวอย่างโครงเรื่อง “ขยะมูลฝอย”
1.             ความหมายและความสำคัญของขยะมูลฝอย
2.             ประเภทของขยะมูลฝอย
-                   จำแนกตามลักษณะส่วนประกอบ
-                   จำแนกตามลักษณะการเผาไหม้
3.             แหล่งกำเนิดขยะมูลฝอย
4.             ผลกระทบของขยะมูลฝอย
5.             กรรมวิธีกำจัดขยะมูลฝอย
-                   เทกองกลางแจ้ง
-                   การเผา
-                   การฝังดิน
-                   การหมัก
6.             การแปรสภาพขยะมูลฝอยมาใช้ประโยชน์ใหม่
7.             การป้องกันและการแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอย




บทที่ 2
                                                           เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

การศึกษาในครั้งนี้ ผู้ศึกษาได้ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยแบ่งเนื้อหาของเอกสารงานวิจัยออกเป็นหัวข้อต่างๆดังนี้
1.              ห้องสมุดโรงเรียน 
1.1      ระเบียบการใช้ห้องสมุด
1.2      มารยาทในการใช้ห้องสมุด
1.3      ระเบียบการยืม – คืน
1.4      บริการสำหรับครู-อาจารย์
1.5      บริการต่างๆ ของห้องสมุด
1.6      บริการอินเตอร์เน็ต
2.              คุณสมบัติของบรรณารักษ์ห้องสมุดโรงเรียน

ห้องสมุดโรงเรียน จัดตั้งขึ้นในสถาบันการศึกษาทุกระดับตั้งแต่ระดับอนุบาล ระดับประถม ระดับมัธยม มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการเรียนการสอนตามหลักสูตรของโรงเรียนและเป็นแหล่งค้นคว้าของครูและนักเรียน ปัจจุบันเพื่อให้นักเรียนได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกันได้กว้างขวางขึ้น ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติร่วมมือกับกระทรวงศึกษาธิการ ศูนย์บริการไทยสารอินเทอร์เน็ต และองค์การสื่อสารแห่งประเทศไทย ร่วมกันดำเนินโครงการเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทย หรือ School Net โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้โรงเรียนมัธยมศึกษาทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัดเข้าถึงเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและเครือข่ายข้อมูลกลุ่มรงเรียนทั่วโลก เพื่อเป็นสื่อกลางแลกเปลี่ยนเอกสาร สื่อการสอน ฐานข้อมูลของห้องสมุดระหว่างโรงเรียนและระหว่างโรงเรียนกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา (ปราณี วงศ์จำรัส, 2548:48)
ระเบียบการใช้ห้องสมุดโรงเรียนวิทยานุกูลนารี
เวลาทำการ  วันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 07.15 - 16.30
เวลาบริการ   ก่อนเข้าแถว (เช้า)  พักกลางวัน – หลังเลิกเรียน


มารยาทในการใช้ห้องสมุด
1. แต่งกายให้เรียบร้อยก่อนเข้าใช้ห้องสมุด
2. ฝากกระเป๋า สิ่งของต่างๆ ไว้ตรงที่บริการ
3. นำรองเท้าใส่ถุงถือติดตัวเข้าห้องสมุด
4. ห้ามนำขนม น้ำ เข้ามารับประทาน
5. ห้ามนอนหลับ/วิ่งเล่น ในห้องสมุด
6.ห้ามตัดรูปข้อความ หรือฉีกขโมยหนังสือ ให้ถ่ายเอกสารแทน
7.ห้ามนั่งระหว่างชั้นว่างหนังสือ ซึ่งทำให้กีดขวางผู้อื่นที่จะค้นหาหนังสือไม่ได้รับความสะดวก
8.ไม่ส่งเสียงดังรบกวนผู้อื่น
9.ไม่ควรหยิบหนังสือพิมพ์ วารสาร มาอ่านคลั้งละหลายเล่ม จะทำให้ผู้อื่นไม่มีโอกาศได้อ่าน
10.เก็บเก้าอี้ทุกครั้ง เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย
11.ถ้าต้องการยืมหนังสือ ให้ติดต่อยืมที่บรรรารักษ์
12.ให้ตรวจสิ่งของก่อนออกจากห้องสมุดทุกครั้ง
13.ไม่เล่นเครื่องนับจำนวนที่บริเวณทางเข้าออก-ออก จะทำให้เครื่องชำรุดเสียหาย
14.หนังสือ หรือวัสดุใดๆ ที่ยืมออกจากห้องสมุด ควรดูแลรักษาให้ดีเพื่อยืดอายุการใช้งาน
15ให้คืนหนังสือตามกำหนดเวลา เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้อื่นได้ใช้หนังสือ

ระเบียบการยืม - คืน
1.มีบัตรสมาชิกห้องสมุด
ขั้นตอนการทำบัตร
1.1 นำรูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว หรือ 2 นิ้ว จำนวน 1 รูป
1.2 เงินค่าทำบัคร 3 บาท
1.3 ติดต่อบรรณารักษ์ (นักเรียนใหม่ ครูบรรณารักษ์จะบริการในห้องเรียนเอง)
2.นำหนังสือที่ต้องการยืม ส่งให้เจ้าหน้าที่ห้องสมุดที่ยืนอยู่ประจำเคาเตอร์
3.ใช้บัตรสมาชิกของผู้ยืมเท่านั้น
4.สิทธิการยืมคืน
4.1 ยืมหนังสือ/วีดีโอ/เทป ได้ครั้งละไม่เกิน 5 เล่ม ภายในกำหนด 7 วัน
4.2 หนังสืออ้างอิงไม่อนุญาตให้ยืม
4.3 การบริการให้ยืมเฉพาะช่วงเช้า-พักกลางวันและหลังเรียนคาบสุดท้าย ไม่บริการให้ยืมระหว่าง
เวลาเรียน
5.ถ้าส่งหนังสือช้าเกินกำหนด ปรับวันละ 1 บาทต่อเล่ม(นับรวมวันหยุด)แต่ถ้าเป็นหนังสือจองปรับวันละ 5 บาท
6.หากทำหนังสือหายหรือมีปัญหาการใช้ห้องสมุดให้ติดต่อบรรณารักษ์
บริการต่างๆ ของห้องสมุด
1.บริการอินเตอร์เน็ต
2.บริการห้องสมุดเสียง
3.บริการยืม - คืน
4.บริการตอบคำถามเพื่อการค้นคว้า
5.บริการจองหนังสือ
6.บริการโสตทัศนูปกรณ์ห้องสมุด
7.บริการห้องสมุดเคลื่อนที่
8.บริการการอ่าน
  บริการสำหรับครู-อาจารย์
1.ยืมหนังสือได้ไม่เกิน 10 เล่ม
2.หากส่งหนังสือคืนเกินกำหนดปรับเล่มละ 2 บาท
บริการอินเตอร์เน็ต
1.เปิดบริการระหว่างเวลา 07.30 -16.30
2.คิดอัตราค่าบริการชั่วโมงละ 10 บาท
3.ลงชื่อ - นามสกุล ชั้น หมายเลขเครื่องคอมพิวเตอร์และเวลาที่ใช้บริการ
4.บริการพิมพ์ข้อมูลแผ่นละ 5 บาท
5.ใช้เฉพาะสืบค้นข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตเท่านั้น ไม่บริการพิมพ์ใดๆ
6.ห้ามเว็บไซด์ที่ไม่เหมาะกับสถานศึกษา
7.ก่อนจะใช้แผ่นดิสท์แจ้งบรรณารักษ์ทราบทุกครั้ง
8.หากมีปัญหาในการใช้อินเตอร์เน็ต หรือ ต้องการความช่วยเหลือให้ติดต่อบรรณารักษ์

คุณสมบัติของบรรณารักษ์ห้องสมุดโรงเรียน
1.มีวุฒิทางวิชาชีพบรรณารักษ์ศาสตร์ ต้องได้ผ่านการศึกษาหรืออบรมมาทาง สาขาวิชานี้โดยเฉพาะ เพราะงานห้องสมุดเป็นงานวิชาชีพขั้นสูงอย่างหนึ่ง จะให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งที่ไม่มีคุณสมบัติมาปฏิบัติงานอาจทำให้งานไม่สัมฤทธิ์ผล และอาจเสียหายได้ ผู้ผ่านการศึกษาในทางสาขาวิชาชีพนี้แล้ว จะมีความรู้ในเรื่องการบริหารดำเนินงานห้องสมุดการจัดโปรแกรมห้องสมุด การวิเคราะห์เลขหมู่การทำบัตรรายการ กรให้บริการอ้างอิงแก่ผู้ใช้ อันเป็นหลักประกันว่าในกิจการงานเทคนิคนั้นบรรณารักษ์สามารถดำเนินการได้
2.มีวุฒิทางการศึกษา ต้องได้ผ่านวิชาชีพทางการศึกษา และถ้ายิ่งมีประสบการณ์ในการสอนด้วยจะเป็นการดีความรู้ทางวิชาชีพทางการศึกษาพื้นฐานที่ควรรู้ เช่น การบริหารและการนิเทศการศึกษา ทฤษฎีการเรียนรู้ การปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตร การให้คำปรึกษาและแนวแนว การสื่อสารมวลชน จิตวิทยาการศึกษา จิตวิทยาพัฒนาการ จิตวิทยาวัยรุ่น ความรู้ทางด้านการศึกษาจะเป็นประโยชน์ต่อบรรณารักษ์ในแง่ที่ช่วยให้เข้าใจถึงหลักการจัดการศึกษาว่าเป็นอย่างไร จะได้ดำเนินงานห้องสมุดให้สอดคล้องกับการจัดการศึกษาได้ ส่วนความรู้ทางด้านจิตวิทยาจะช่วยให้เข้าใจในตัวผู้ใช้ได้ดียิ่งขึ้น กิจกรรมต่างๆที่จะจัดจะได้ตรงความสนใจของผู้ใช้
3.มีความรู้เกี่ยวกับวัสดุการศึกษาทุกชนิด เนื่องจากความคิดปัจจุบันห้องสมุดมิใช่จะมีเพียงหนังสือวารสารเท่านั้น แต่ห้องสมุดจะพยายามรวบรวมวัสดุการศึกษาทุกชนิดเอาไว้บริการหรือใช้เป็นสื่อนำความรู้ ประสบการณ์ไปยังนักเรียน ดังนั้นบรรณารักษ์จึงต้องพยายามค้นคว้าหาความรู้ในเรื่องวัสดุการศึกษาว่ามีอะไรบ้าง แต่ละประเภทใช้ประโยชน์อย่างไร มีคุณค่าในด้านใด ควรใช้ในโอกาสใด คุณสมบัติข้อนี้จะช่วยให้ห้องสมุดก้าวไปถึงสภาพสมบูรณ์ตามอุดมคติ
4.มีความศรัทธาในอาชีพบรรณารักษ์ แม้ว่างานบรรณารักษ์หลายวงการจะยอมรับว่าเป็นวิชาชีพชั้นสูง แต่ในด้านการสนับสนุนในด้านฐานะของวิชาชีพบรรณารักษ์ยังไม่ดีนักทั้งในต่างประเทศและในเมืองไทยเราเอง จากหลักการที่กล่าวมาแล้วข้างต้นจะเห็นว่าหน้าที่บรรณารักษ์จริงๆนั้นมิใช่น้อยเลย ฉะนั้นในสภาวะปัจจุบันผู้ที่จะประกอบอาชีพนี้ จำต้องมีความศรัทธา เสียสละพอสมควร
5.มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี งานบรรณารักษ์ตามแนวคิดปัจจุบันดังที่กล่าวแล้วต้องเกี่ยวข้องกับบุคคลหลายฝ่าย ทั้งผู้บริหาร ทั้งครูผู้สอน ทั้งตัวนักเรียนเอง บรรณารักษ์จึงต้องเป็นบุคคลที่มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีบุคคลที่มีมนุษยสัมพันธ์ดีมักมีลักษณะดังนี้คือ มีความเชื่อมั่นในตนเอง มีความสามารถในการพูดจา มีอารมณ์ขัน มีความเป็นกันเองกับทุกๆคน มีความจริงใจกับผุมาติดต่ออย่างสม่ำเสมอ มีความใจกว้างยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นการมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีจะช่วยให้งานประสบผลสำเร็จเร็วขึ้น และในแง่ของบรรณารักษ์ การมีบุคลิกเช่นนี้จะเป็นการสร้างทัศนคติที่ดีต่อห้องสมุดให้แก่นักเรียน และผู้ใช้ได้


Oval Callout: ให้นักรียนเติมข้อมูลเป็นของกลุ่มนักเรียนลงใน....ข้างล้างนี้. บทที่ 3
วิธีดำเนินการ

          ในการศึกษาครั้งนี้ผู้ศึกษาได้ทำการศึกษา.....(.ชื่อเรื่อง)..............................................................
ซึ่งมีวิธีการดังนี้

ระเบียบวิธีที่ใช้ในการศึกษา
                ในการศึกษาใช้รูปแบบการสำรวจ สืบค้นข้อมูล จากหนังสือ  อินเตอร์เน็ต และตอบแบบสอบถาม

ประชากรที่ใช้ในการศึกษา

1.              ประชากร
ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่........(ตามกลุ่มตัวอย่างของนักเรียน)
โรงเรียนวิทยานุกูลนารี   ภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา 2556 จำนวน..................ห้องเรียน  เป็นนักเรียนทั้งสิ้น........คน

2.              กลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่..(ตามกลุ่มตัวอย่างของนักเรียน)
โรงเรียนวิทยานุกูลนารีภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา 2555     เป็นนักเรียนทั้งสิ้น........คน  ได้มาโดยสุ่มอย่างง่าย  จำนวน............ห้องเรียน  เพื่อตอบแบบสอบถามที่สร้างขึ้น

3.              ระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษา
                                ระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษา ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555

วิธีดำเนินการศึกษา
                ผู้ศึกษาได้ดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้
1.             กำหนดเรื่องที่จะศึกษา โดยสมาชิกทั้ง 3 คน ประชุมร่วมกัน และร่วมกันคิดและวางแผน ว่าจะศึกษาเรื่องใด ( สมาชิกกลุ่มทั้ง 3 คน ได้มาโดยนำผลการเรียนวิชาภาษาไทยพื้นฐาน มาจัดแบ่งกลุ่ม เก่ง กลาง อ่อน)
2.             สำรวจปัญหาที่พบในโรงเรียน ซึ่งมีทั้งปัญหาด้านผู้เรียน ครูผู้สอน  อาคาร สถานที่   สิ่งแวดล้อมในโรงเรียน  ฯลฯ

3.             เลือกเรื่องที่จะศึกษา โดยเลือกเรื่องที่สมาชิกมีความสนใจมากที่สุด เพื่อเป็นแรงจูงใจในการค้นหาคำตอบ
4.             ศึกษาแนวคิดในการแก้ปัญหา ( ในข้อนี้ยังไม่สามารถดำเนินการได้เนื่องจาก การเรียนรายวิชา IS 2 เวลามี  
    จำกัด ผู้ศึกษาจึงทำได้เฉพาะการสำรวจความคิดเห็นและสร้างเครื่องมือ (แบบสอบถาม) ศึกษาเพียงเพื่อให้
    มีความรู้ ความเข้าใจ เรื่องกระบวนการวิจัยเท่านั้น
5.             ตั้งชื่อเรื่อง
6.             สมาชิกทั้ง 3 คนของกลุ่ม  พบครูผู้สอนเพื่อปรึกษา วางแผนและรับฟังความคิดเห็น ปรับปรุงแก้ไข
7.             เขียนความสำคัญความเป็นมาของปัญหา วัตถุประสงค์  สมมุติฐาน  ขอบเขตการวิจัยและประโยชน์ที่คาด
    ว่าจะได้รับ  โดยศึกษาข้อมูลจากหนังสือ   วิทยานิพนธ์และสืบค้นข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต  และจดบันทึกใน
    โครงร่างรายงานเชิงวิชาการ ( ตามใบงาน)
8.             สร้างเครื่องมือ ที่เป็นแบบสอบถาม จำนวน..............ข้อ
9.             นำเครื่องมือที่ปรับปรุงแล้วไปใช้กับกลุ่มตัวอย่าง
10.          รวบรวมข้อมูล
11.         วิเคราะห์ข้อมูล
12.          สรุปการศึกษา


ขั้นตอนวิธีดำเนินการศึกษา
 แนะนำมีวิธีการดังนี้ ซึ่งนักเรียนอาจปรับเปลียนได้ตามความเหมาะสม
               


 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา
                               
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ แบบสอบถาม ( หรือแบบประเมินความพึงพอใจ) 1 ฉบับ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
1.             ออกแบบสอบถาม เรื่อง ............................................................................โดยขอคำแนะนำจาก
คุณครูกอบแก้วตะนะพันธุ์  โดยเตรียมร่างข้อคำถาม มีลักษณะเป็นข้อคำถามจำนวน...............ข้อ เป็นแบบ
มาตราส่วนประมาณ 5 ระดับ คือ
                                5              หมายถึง                          เห็นด้วยมากที่สุด
                                4              หมายถึง                         เห็นด้วยมาก
3              หมายถึง                         เห็นด้วยปานกลาง
2                     หมายถึง                        เห็นด้วยน้อย
1                    หมายถึง                         เห็นด้วยน้อยที่สุด

การพิจารณาค่าเฉลี่ย จะใช้เกณฑ์ดังนี้
ค่าเฉลี่ย 4.51 – 5.00           หมายถึง                 เห็นด้วยมากที่สุด
                ค่าเฉลี่ย 3.51 – 4.50           หมายถึง                 เห็นด้วยมาก
ค่าเฉลี่ย 2.51 – 3.50           หมายถึง                 เห็นด้วยปานกลาง
ค่าเฉลี่ย 1.51 – 2.50           หมายถึง                 เห็นด้วยน้อย
ค่าเฉลี่ย 1.00– 1.50             หมายถึง                 เห็นด้วยน้อยที่สุด

2.             สร้างแบบสอบถาม เรื่อง..............................................................................โดยขอคำแนะนำ
จากคุณครูกอบแก้วตะนะพันธุ์     จากนั้นนำมาปรับปรุงแก้ไข แล้วนำไปตรวจสอบความเหมาะสม
3.             นำแบบสอบถามเรื่อง................................................................ที่แก้ไข ปรับปรุงแล้วให้กลุ่ม
ตัวอย่างประเมิน หลังจากนั้นนำผลที่ได้มาหาค่าเฉลี่ย

                การเก็บรวบรวมข้อมูล
                               
การศึกษาครั้งนี้ได้ดำเนินการโดยนำแบบสอบถามที่สร้างขึ้นให้นักเรียนกลุ่มตัวอย่างตอบ จำนวน..........คน และเก็บรวบรวมข้อมูลจากนักเรียน ที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง โดยผู้ศึกษาทั้ง 3 คน ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง

 การวิเคราะห์ข้อมูล
                                ในการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้ศึกษาได้วิเคราะห์ข้อมูลดังนี้
1.             นำแบบสอบถามทั้งหมดที่ตอบโดยนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง มาหาค่าคะแนนรวม
2.             นำผลรวมมาคิดค่าร้อยละ 

สถิติที่ใช้ในการศึกษา
                               
                                สถิติที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้  คือ การหาค่าเฉลี่ยคิดเป็น ร้อยละ



















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น